สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

image_pdfดาวน์โหลดไฟล์ PDF

Last Updated on 7 November 2023




วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

หลังจากที่ตระเวนเที่ยวชมวัดและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กันมาอย่างเต็มอิ่มและพักผ่อนกันอย่างเต็มที่ แล้ว ผู้อ่านก็ลองเปิดอ่านในบทนี้ดูบ้าง เพราะคราวนี้ผู้เขียนจะพาออกจาก กรุงเทพฯ เมืองหลวงที่แสนร้อนและการจราจรที่แน่นขนัด ไปยังจังหวัดที่อยู่ นอกกรุงเทพฯกันบ้างดีกว่า เพราะยังมีหลายๆ สถานที่ที่น่าสนใจและควร แวะเวียนไปกราบไหว้บูชาบ้างเหมือนกัน และแต่ละที่ก็ดูน่าสนใจ ขลังไม่แพ้ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพฯ เลยทีเดียว เราตามไปดูกันเลย

วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
ที่ตั้ง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม

วัดพระปฐมเจดีย์ฯ มีปูชนียสถานอันสำคัญของประเทศไทย คือ “พระปฐมเจดีย์” เป็นพระเจดีย์ใหญ่รูประฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้าง เป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมา ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ เป็นที่เคารพสักการบูชาของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า “พระธมเจดีย์” มีฐานะเป็นมหาธาตุ หลวงของแผ่นดินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้าง ขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่ศาสนา ยังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำ แบบเดียวกับ พระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราช วินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเชื่อว่านี่คือ เจดีย์แห่งแรกของสุวรรณภูมิ จึงทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระปฐมเจดีย์



พระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์

สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญยิ่งของพระปฐมเจดีย์คือ “พระร่วงโรจนฤทธิ์” ตาม ประวัติได้กล่าวไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว (รัชกาลที่ 6) เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระยุพราช เสด็จ ประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก แต่ มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย ด้วยพระลักษณะงามเป็นที่ต้องพระ ราชหฤทัย แต่ชำรุดมากเหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท จึงโปรด เกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็ม พระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อขึ้นมาใหม่ด้วย โลหะทองเหลืองหนัก 100 หาบ มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศ 7.42 เมตร หรือราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบ สุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐานโลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระ พักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยม นิ้วพระหัตถ์และพระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระ หัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ยื่นออกไปข้างหน้า ระดับพระอุระเป็นกิริยาห้าม มีพระอุทรพลุ้ยออกมา ห่มจีวรบางคลุมแนบติดพระวรกาย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ

พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญองค์หนึ่งของ เมืองไทย เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป โดยมีชื่อเต็มว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนีย บพิตร” (ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2466)

หลังจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เสด็จ สวรรคตแล้วตามความในพระราชพินัยกรรมของพระองค์ระบุว่าให้ บรรจุพระ อังคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานพระร่วงฯ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2469 จึงได้ทำพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรังคาร ณ ใต้ฐานพระ ร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร ตามพระประสงค์ทุกประการ

เมื่อมีโอกาสมานครปฐมก็ไม่ควรพลาดที่จะไปกราบนมัสการ พระร่วงโรจนฤทธิ์ เพื่อความสำเร็จในหน้าที่การงาน และสิ่งหนึ่งที่ผู้คนนิยมทำเพื่อ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตเมื่อมาพระปฐมเจดีย์นั่นก็คือ การเดินรอบพระอารามชั้น นอก หรือชั้นในให้ครบ 3 รอบ เพื่ออธิษฐานจิตขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สม ปรารถนาดั่งสิ่งที่หวังไว้ โดยทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระ ปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็นประจำทุกปี



องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์

สถานที่: วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
เวลาเปิด-ปิด: 7:00 – 18:00 น. เปิดทุกวัน
พิกัด: https://goo.gl/maps/hwfVUphWHzcYrQ4M8



ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพประกอบบางส่วนจากหนังสือและ Internet

เรื่องราวที่นำเสนอเป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณ

🔻🔻ติดตามเรา🔻🔻
– Youtube: https://tiny.cc/mongkond
– Facebook: https://facebook.com/mongkondTH/
– Twitter: https://twitter.com/MongkondTH
– Website: https://mongkond.com

image_pdfดาวน์โหลดไฟล์ PDF