สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ วัดสุทัศน์ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

image_pdfดาวน์โหลดไฟล์ PDF

Last Updated on 7 November 2023




วัดสุทัศน์ วัดสุทัศนเทพวราราม

วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

แล้วก็มาถึงการแนะนำสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่จะไปสักการบูชาสักครั้งใน ชีวิตเราแล้ว โดยผู้เขียนจะขอเริ่มจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพมหานครเป็น แรกเริ่มก่อน เพื่อที่ผู้อ่านจะสามารถเลือกเดินทางไปได้ง่ายๆ อีกทั้งยังสามารถที่จะใช้การเดินทางโดยรถประจำทางได้ เหตุก็เพราะในกรุงเทพฯ ก็ขึ้นชื่ออยู่ว่า รถติดมาก ถ้าขืนเอารถส่วนตัวไปอาจจะเจอกับสภาพการจราจรที่ติดขัด อีกทั้ง เมื่อไปถึงที่หมายแล้วเราอาจจะต้องหงุดหงิดเพราะไม่สามารถหาที่จอดรถได้ สถานที่เหล่านี้จึงขอแนะนำให้ใช้รถโดยสารประจำทางจะดีกว่า

วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
ที่ตั้ง บริเวณเสาชิงช้า ตรงข้ามศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

วัดสุทัศนเทพวรารามฯ แห่งนี้มีชื่อเสียงในเรื่องความน่ากลัวของ ตำนานผีไทยเรื่อง “เปรตวัดสุทัศน์” ที่มักจะได้ยินชื่อจนคุ้นหูว่า “แร้งวัดสระ เกศ เปรตวัดสุทัศน์”

เปรตวัดสุทัศน์ แท้จริงมาจากภาพวาดบนฝาผนังในอุโบสถ ที่เป็นรูป เปรตตนหนึ่งนอนพาดกาย โดยมีพระสงฆ์ยืนพิจารณาอยู่ ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียง มากในอดีต ผู้ที่ไปที่วัดนี้ต้องได้ไปดู และว่ากันว่าสิ่งที่ผู้คนเห็นว่าเป็นเปรตนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเงาของเสาชิงช้าที่อยู่หน้าวัดนั่นเอง จะเท็จจริงประการใด ก็ตาม แต่ก็สร้างความน่าสะพรึงกลัวได้เสมอ



วัดสุทัศนฯ แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนาม ว่า “วัดมหาสุทธาวาส” และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อ ประดิษฐาน “พระศรีศากยมุนี (พระโต)” ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัด มหาธาตุ จ.สุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียก กันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือ วัดเสาชิงช้า จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อและทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนจะแล้ว เสร็จ การก่อสร้างมาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม”

และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้ คล้องกันว่า “พระศรีศากยมุนี พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ และ พระพุทธเสรฏฐมุนี”

ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และได้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของ พระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนี เมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ในวันที่ 9 ) มิถุนายนของทุกปี

ควรไปไหว้ พระศรีศากยมุณี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อันเก่าแก่ โดยใช้ ธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม พร้อมด้วยดอกบัวหรือพวงมาลัย เพื่อความเป็นสิริ มงคล สร้างความเจริญรุ่งเรื่องกับชีวิต



วัดสุทัศน์ วัดสุทัศนเทพวราราม

ตำนานแร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์ฯ

เป็นคำกล่าวติดปากที่มีความหมายตรงตัวว่าแร้งนั้นมีมากที่วัดสระเกศ ส่วนเปรตวัดสุทัศน์ มีที่มาจากคำเล่าขานว่าที่วัดสุทัศน์แห่งนี้มักมีเปรตปรากฏกายในเวลากลางคืนเป็นที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ประกอบกับอหิวาตกโรคที่ระบาดจนมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเรื่องแร้งเห็นจะมีหลักฐานอยู่บ้าง เพราะในอดีตป่าช้าวัดสระเกศเป็นที่ที่คนเอาศพไปทิ้งไว้จำนวนมากจนเป็นที่รวมของฝูงแร้ง

ตั้งแต่อยุธยาเป็นต้นมามีธรรมเนียมปฏิบัติที่เล่าขานกันต่อๆ มาว่า หากมีคนตายลงด้วยโรคติดต่อ ถ้าเป็นคนมีเงินก็จะเผา แต่ถ้าเป็นชาวบ้านคนจนทั่วไปจะนำศพไปทิ้งให้แร้งกิน และเหตุที่วัดสระเกศเป็นแหล่งรวมแร้งจำนวนมากก็ด้วยที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้กับประตูผี ประตูเมืองเพียงประตูเดียวที่สามารถนำศพคนตายภายในกำแพงเมืองออกไปเผานอกเมืองตามประเพณีได้ ดังนั้นวัดสระเกศจึงได้อันดับวัดยอดนิยมในการนำศพมาทิ้ง และเผาเพราะไปมาสะดวกกว่าวัดอื่นๆ แน่นอนว่าถ้าเป็นคนยากจนก็ปล่อยให้แร้งวัดสระเกศจิกกินเป็นธรรมเนียม

แร้งวัดสระเกศดูจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนศพ โดยเฉพาะเมื่อคราวห่า (อหิวาตกโรค) ระบาดครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 2 ตามพงศาวดารกล่าวว่า เพียง 15 วัน มีคนตายมากถึง 30,000 คน ซึ่งศพเหล่านั้นล้วนปล่อยให้แร้งกินอยู่ที่วัดสระเกศ

ส่วนใน สมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2392) ว่ากันว่าตามบ้านใหญ่ๆ ที่มีคนอยู่เป็นร้อยๆ มีคนตายไม่ต่ำกว่าบ้านละ 20 คน และเพียง 28 วันมีคนตายไปกว่า 6,000 คน ถัดมาในสมัย รัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2403) โรคห่าระบาด 15 วัน คนตายเฉพาะในกำแพงพระนครวันละ 35 คน แต่ยังไม่ร้ายแรงนักเมื่อเทียบกับในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งต้องมีการจัดพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อปลุกปลอบชาวเมือง เช่น พระราชพิธีอาพาธพินาศ ซึ่งได้อัญเชิญพระแก้วมรกตแห่รอบพระนคร ด้านพระสงฆ์ก็ สวดพระปริตรร่วมในขบวน แต่กลับกลายเป็นว่าทั้งพระสงฆ์และผู้คนที่ร่วมขบวนต่างล้มตายลงด้วยการติดโรคห่าเป็นจำนวนมาก



วัดสุทัศน์ วัดสุทัศนเทพวราราม

ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มีโรคห่าระบาดใหญ่ถึง 4 ครั้ง คือ พ.ศ. 2416 พ.ศ. 2424 พ.ศ. 2434 และ พ.ศ. 2443 มีคนตายนับพัน แต่ความแตกต่างในการจัดการโรคระบาดในสมัยรัชกาลที่ 5 คือไม่มีการทำพิธีกรรมทางศาสนา แต่เป็นการนำความรู้ด้านการแพทย์จากตะวันตกผ่านมิชชันนารีมาจัดการโรคระบาด พร้อมสร้างโรงพยาบาลขึ้นตามหัวเมืองต่างๆ และสร้างระบบประปาเพื่อให้ประชาชนมีน้ำดื่มสะอาดอันเป็นการแก้โรคที่ต้นเหตุ และเมื่อมีระบบสุขาภิบาลเกิดขึ้น การนำศพไปทิ้งให้แร้งวัดสระเกศกินจึงเป็นธรรมเนียมที่ถูกยกเลิกไป พร้อมรับเอาอารยธรรมสมัยใหม่เข้ามามากขึ้น

ความมากมายของแร้งวัดสระเกศก่อนที่รัชกาล 5 ทรงใช้พระราชบัญญัติการสุขาภิบาลนั้นมีบันทึกไว้ในหนังสือ “พระปิยะมหาราช” ซึ่งเสฐียร พันธรังษี และอัมพร จุลานนท์ แปลและเรียบเรียงจาก Temples and Elephants โดย Carl Bock นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ที่เข้ามาสำรวจประเทศไทยในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 ในหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงแล้งวัดสระเกศไว้ว่า

“เหนือศีรษะขึ้นไปมีฝูงนกกาจับอยู่บนกิ่งไม้ดำมืด ส่วนฝูงแร้งบินเป็นวงอยู่เหนือศีรษะคนแบกศพ…เมื่อคนแบกศพไปวางบนพื้นดินเพียงครู่เดียว สถานที่นั้นก็คลาคล่ำไปด้วยฝูงแร้งกาที่ตะกละและน่าขยะแขยง มันพากันโผลงมายืนเป็นรูปครึ่งวงกลม”อยู่รอบศพอย่างรวดเร็ว ส่วนพระและผู้คนที่มายืนอยู่อีกซีกหนึ่งเป็นวงกลมรอบศพพอดี ต่อจากฝูงแร้งก็ถึงฝูงกา และต่อจากฝูงกาก็ถึงฝูงสุนัข วิ่งวนไปมาส่งเสียงเห่าและคำรามกันเอง พอสัปเหร่อผ่าศพ พวกแร้งไม่อาจจะทนดูเลือดและตับไตไส้พุงที่สัปเหร่อผ่าออกมาได้ก็เริ่มตีปีกและร้องเสียงแหลม พร้อมกับกระโดดไปมาอย่างกระวนกระวาย ร้อนถึงชาย 2 คนต้องช่วยกันไล่ไม่ให้มันเข้ามาใกล้สัปเหร่อที่กำลังผ่าศพ

“เมื่อสัปเหร่อแล่เนื้อที่สะโพกขาและแขนออกแล้วจึงผ่าอกอีกทีหนึ่ง ระหว่างนี้พระรูปที่อยู่ใกล้ๆ ก็ก้าวเข้าไปสวด 2-3 คำ ยังไม่ทันสวดจบ พวกแร้งที่รออยู่ก็กระโดดเข้ามาใกล้ศพอย่างบ้าคลั่ง ส่งเสียงร้องอย่างน่ากลัว ภาพของแร้งที่กระโดดหยองแหยงกระจายไปรอบศพดูคล้ายเป็นการเต้นรำของพญามัจจุราช…” จึงเป็นที่มาของคำกล่าวคล้องจองกันที่ว่า “แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์”



วัดสุทัศน์ วัดสุทัศนเทพวราราม

สถานที่: วัดสุทัศน์ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ริมถนนตีทอง ๑ ถนนบำรุงเมือง หน้าวัดออกทางถนนอุณากรรณ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เวลาเปิด-ปิด: 8:30 – 21:00 น. เปิดทุกวัน
พิกัด: https://goo.gl/maps/CGYPrXrzLAdkybHM8



ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพประกอบบางส่วนจากหนังสือและ Internet

เรื่องราวที่นำเสนอเป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณ

🔻🔻ติดตามเรา🔻🔻
– Youtube: https://tiny.cc/mongkond
– Facebook: https://facebook.com/mongkondTH/
– Twitter: https://twitter.com/MongkondTH
– Website: https://mongkond.com

image_pdfดาวน์โหลดไฟล์ PDF