Last Updated on 7 November 2023
วัดอมรินทราราม วรวิหาร
แล้วก็มาถึงการแนะนำสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่จะไปสักการบูชาสักครั้งใน ชีวิตเราแล้ว โดยผู้เขียนจะขอเริ่มจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพมหานครเป็น แรกเริ่มก่อน เพื่อที่ผู้อ่านจะสามารถเลือกเดินทางไปได้ง่ายๆ อีกทั้งยังสามารถที่จะใช้การเดินทางโดยรถประจำทางได้ เหตุก็เพราะในกรุงเทพฯ ก็ขึ้นชื่ออยู่ว่า รถติดมาก ถ้าขืนเอารถส่วนตัวไปอาจจะเจอกับสภาพการจราจรที่ติดขัด อีกทั้ง เมื่อไปถึงที่หมายแล้วเราอาจจะต้องหงุดหงิดเพราะไม่สามารถหาที่จอดรถได้ สถานที่เหล่านี้จึงขอแนะนำให้ใช้รถโดยสารประจำทางจะดีกว่า
วัดอมรินทราราม วรวิหาร
ที่ตั้ง วัดอมรินทราราม เขตบางกอกน้อย
วัดแห่งนี้มี “หลวงพ่อโบสถ์น้อย” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สมัยสุโขทัย หล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 22 นิ้ว สูง 7 ศอก 21 นิ้ว ประดิษฐานในพระอุโบสถน้อย
หลวงพ่อโบสถ์น้อยไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมาแน่ชัดว่า ใครเป็นผู้ สร้างและสร้างในสมัยใด แต่จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมหลวงพ่อโบสถ์ น้อยเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก สันนิษฐานว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อย คงจะเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ แต่ด้วยเหตุที่องค์ พระพุทธรูปมีขนาดเล็ก ไม่สมกับพระอุโบสถที่มีความกว้างขวางใหญ่โต ดังนั้น ชาวบ้านจึงได้ทำการปั้นปูนพอกทับองค์จริงเอาไว้ เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสม กับพระอุโบสถ ซึ่งพระอุโบสถขณะนั้นมีขนาดยาวถึง 4 ห้อง
ครั้นต่อมา พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้ตัดเส้นทางรถไฟสายใต้ เริ่มจากปากคลองบางกอกน้อยไปทางนครปฐม พื้นที่ด้านหน้าวัดอมรินทรารามจึงต้องถูก ตัดตอนเป็นทางรถไฟไปด้วย ซึ่งรางรถไฟเฉียดผ่านพระอุโบสถของวัด จึงต้อง รื้อด้านหน้าของพระอุโบสถออกไปห้องหนึ่ง ทำให้พระอุโบสถมีขนาดเล็กลง ชาวบ้านจึงเรียกว่า “โบสถ์น้อย” และคงจะเรียกชื่อพระประธานในพระอุโบสถ ว่า “หลวงพ่อโบสถ์น้อย” ไปด้วย
มีเรื่องเล่าถึง ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ได้แสดงให้เห็นคือ เมื่อครั้งที่นายช่างฝรั่งมาส่องกล้องเพื่อดำเนินการตัดทางสำหรับวางรางรถไฟ นั้นเมื่อส่องกล้องแล้ว พบว่าเส้นทางนั้นจะต้องถูกพระอุโบสถและองค์ พระพุทธรูปพอดี ครานั้นจึงได้เกิดอาเพศเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นจนนายช่างฝรั่งไม่ สามารถที่จะทำการตัดเส้นทางให้เป็นแนวตรงได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทาง ใหม่เป็นแนวอ้อมโค้งดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น เครื่องบินข้าศึกได้มาทิ้ง ระเบิดเพื่อทำลายย่านสถานีรถไฟธนบุรี แต่เนื่องจากสถานีรถไฟกับวัดมีเขต ติดต่อกันจึงทำให้ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ภายในวัดอมรินทรารามถูกไฟเผา ทำลายเป็นส่วนมาก แม้แต่พระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโบสถ์น้อย ก็ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ด้วย ในส่วนของเชิงชายพระอุโบสถก็ถูกไฟไหม้ แต่ในที่สุดไฟก็ดับได้เองเหมือนปาฏิหาริย์ และจากความรุนแรงของลูกระเบิดที่ ตกลงมารอบพระอุโบสถครั้งนั้นเป็นผลให้พระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ ปั้นด้วยปูนถึงกับหักพังลงมา ในครั้งนั้นทางวัดได้นำพระเศียรของหลวงพ่อ โบสถ์น้อยไปฝากไว้ยังวัดอรุณราชวรารามเป็นการชั่วคราว
เมื่อสงครามยุติลง วัดอมรินทรารามอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ทางวัดจึงได้เริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ให้มีสภาพดี ดังเดิม ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าอยู่ในสภาพเสียหายมาก จึงได้ดำเนินการ ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนใน พ.ศ. 2504
พระอุโบสถหลังเก่า ซึ่งเรียกกันว่า “โบสถ์น้อย” นั้น ยังคงเป็นที่ ประดิษฐานของหลวงพ่อโบสถ์น้อยดังเดิม และในส่วนการซ่อมแซมองค์ พระพุทธรูปนั้น ทางวัดได้อัญเชิญพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยกลับคืนมา เพื่อหวังที่จะต่อเข้ากับองค์พระพุทธรูป แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าพระเศียร ของหลวงพ่อแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่ จึงตกลงที่จะปั้นพระเศียรของหลวงพ่อขึ้น ใหม่โดยให้คงเค้าพระพักตร์เดิมไว้
ต่อมาใน พ.ศ. 2523 ได้มีการบูรณะหลวงพ่อโบสถ์น้อยขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากองค์พระพุทธรูปมีสภาพชำรุดหลายแห่ง ครั้งนั้นได้ทำการฉาบปูน ลงรักปิดทองใหม่หมดทั้งองค์ พร้อมกันนี้ก็ได้บูรณะพระอุโบสถโดยการเปลี่ยน กระเบื้องมุงหลังคาและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมในคราวเดียวกัน เมื่อแล้วเสร็จจึงได้มีการเฉลิมฉลองสมโภช
ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อยประจำปีในปัจจุบัน กำหนด ให้วันที่ 29 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันนมัสการประจำปีของหลวงพ่อโบสถ์ น้อย เพื่อระลึกว่าในวันดังกล่าว ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่หลวงพ่อโบสถ์น้อย ถูกภัยทางอากาศ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2
การได้มากราบสักการะหลวงพ่อโบสถ์น้อย เชื่อว่าจะแคล้วคลาด ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง รอดพ้นจากอุปสรรคนานาประการ อธิษฐาน ขอพรให้ชีวิตหายจากอาการป่วยไข้ ด้วยอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ โบสถ์น้อย อันเป็นที่สักการะบูชาของผู้คน
สถานที่: วัดอมรินทราราม วรวิหาร ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
เวลาเปิด-ปิด: 8:00 – 16:30 น. เปิดทุกวัน
พิกัด: https://goo.gl/maps/tgHMS3xxieA84pXZ8
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพประกอบบางส่วนจากหนังสือและ Internet
เรื่องราวที่นำเสนอเป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณ
🔻🔻ติดตามเรา🔻🔻
– Youtube: https://tiny.cc/mongkond
– Facebook: https://facebook.com/mongkondTH/
– Twitter: https://twitter.com/MongkondTH
– Website: https://mongkond.com