Last Updated on 7 November 2023
วัดซำปอกง วัดอุภัยภาติการาม จ.ฉะเชิงเทรา
หลังจากที่ตระเวนเที่ยวชมวัดและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กันมาอย่างเต็มอิ่มและพักผ่อนกันอย่างเต็มที่ แล้ว ผู้อ่านก็ลองเปิดอ่านในบทนี้ดูบ้าง เพราะคราวนี้ผู้เขียนจะพาออกจาก กรุงเทพฯ เมืองหลวงที่แสนร้อนและการจราจรที่แน่นขนัด ไปยังจังหวัดที่อยู่ นอกกรุงเทพฯกันบ้างดีกว่า เพราะยังมีหลายๆ สถานที่ที่น่าสนใจและควร แวะเวียนไปกราบไหว้บูชาบ้างเหมือนกัน และแต่ละที่ก็ดูน่าสนใจ ขลังไม่แพ้ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพฯ เลยทีเดียว เราตามไปดูกันเลย
วัดอุภัยภาติการาม
ที่ตั้ง ถ.ศุภกิจ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
วัดอุภัยภาติการาม เดิมชื่อ “วัดซำปอกง” ได้ริเริ่มก่อสร้างด้วยความคิด ของคนจีนคนหนึ่ง “แซ่เตียว” ระดมเรี่ยไรเงินของผู้มีจิตศรัทธาสร้างวัดแห่งนี้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ครั้ง ) เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา มาถึงวัดแห่งนี้จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่า “วัดอุภัยภาติการาม”
จากประวัติเล่าว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่เมืองแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา มีเศรษฐี 2 พ่อลูก ซึ่งเป็นชาวตลาด บ้านใหม่ล่าง คือ หลงจูอี้ ผู้เป็นพ่อ กับ หลงจูแดง ผู้เป็นลูก มีใจศรัทธาต่อ หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงฯ จ.พระนครศรีอยุธยามาก เวลานั้นเป็นที่รู้จักกัน แพร่หลายมากในหมู่ชาวจีนในเมืองไทย นิยมไปกราบไหว้บูชาถือว่ามงคลยิ่ง นัก พระพุทธรูปโบราณองค์นี้ประชาชนชาวไทยและชาวจีนเคารพนับถือกัน มาก เชื่อว่าสามารถนำโชคดีมาสู่ตนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนค้าขาย เมื่อตั้งใจ อธิษฐานขอพรจะมีกิจการรุ่งเรืองใหญ่โตเหมือนองค์ท่าน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2449 หลงจูอี้และหลงจูแดง (ซึ่งเวลาต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนพิพิธพานิชกรรม”) ได้ช่วยกันสละทรัพย์สร้างพระตำปอกงขึ้นเพื่อกราบ ไหว้บูชาโดยให้ช่างปั้นไปจำลองแบบองค์หลวงพ่อมาจากวัดพนัญเชิงฯ ขณะ เดียวกันหลงจูแดงก็ได้สละที่ดิน ต.บ้านใหม่ เพื่อสร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อชำปอกง
คนเก่าแก่เล่าว่า พระซำปอกงเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ข้างในองค์พระ เป็นโพรง โดยใช้กระบุงหรือภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่เอามาก่อซ้อนกันเป็นรูป องค์พระแล้วจึงใช้ปูนฉาบ และลงรักปิดทอง พลวงพ่อซำปอกงที่สร้างนั้นมี ขนาดหน้าตักกว้าง 6.50 เมตร สูงประมาณ 12 เมตร
ในปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จไปยัง จ.ฉะเชิงเทรา ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมายังวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปด้วย ทรงมีพระราชศรัทธาบริจาคเงิน 200 บาท พระราชทานสมทบในการสร้างอาราม และปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป กับได้ พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดอุภัยภาติการาม” ส่วนพระพุทธรูป ทรงทราบว่า ไปจำลองมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ดังนั้น พระองค์จึงพระราชทานนาม พระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” เช่นเดียวกับที่ จ.พระนครศรีอยุธยา
สาเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระ ราชทานนามวัดนี้ว่า “อุภัยภาติการาม” ก็เนื่องจากทราบว่า วัดนี้ประสบความ เสียหายจากน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ และบางปี หลวงพ่อชำปอกง ดูดน้ำซึมเข้าองค์ พระทำให้ทองที่ปิดเสียหายอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณฐานและตอนล่างของ องค์พระจะพบว่าทองที่ปิดไว้เริ่มลอก และหลุดออกเป็นแห่งๆ ต้องทำการซ่อมแซมอยู่เสมอ
ในปีต่อมา พ.ศ. 2451 หลงจูอี้และหลงจูแดง ผู้สร้างพระชำปอกง จัด งานสมโภชฉลองพระพุทธรูปพระไตรรัตนนายก เป็นการฉลองที่ได้รับ พระราชทานนาม “วัด” และ “พระ” ขณะเดียวกัน
งานสมโภชฉลองพระพุทธไตรรัตนนายก กำหนดการวันที่ 8 เมษายน ไปจนถึงวันที่ 12 เมษายน ปีเดียวกัน รวม 5 วัน การสมโภชมีการแสดง จิ๋ว และลิเก การละเล่นต่างๆ พร้อมกับได้กำหนดลงไปว่า ตั้งแต่ปีนี้ต่อไปทุกๆ ปี ถึงกำหนดวันเดือน 5 ขึ้น 8 ค่ำ ให้เป็นวันกำหนดปิดทองพระพุทธไตรรัตน นายก หรือ หลวงพ่อชำปอกง จัดเป็นประเพณีสืบต่อมา
การได้มากราบสักการะหลวงพ่อซำปอกง จะทำให้ทำมาค้าขึ้น การค้า การขายเจริญรุ่งเรือง เดินทางขึ้นเหนือล่องใต้จะพบแต่โชคชัย หากตั้งจิต อธิษฐานดีๆ จะพบแต่ความมั่งมีศรีสุขอยู่ทุกเมื่อ
สถานที่: วัดอุภัยภาติการาม ถนนศุภกิจ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา
เวลาเปิด-ปิด: 8:00 – 17:00 น. เปิดทุกวัน
พิกัด: https://goo.gl/maps/J6YM6zJmakPGUB2o6
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพประกอบบางส่วนจากหนังสือและ Internet
เรื่องราวที่นำเสนอเป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณ
🔻🔻ติดตามเรา🔻🔻
– Youtube: https://tiny.cc/mongkond
– Facebook: https://facebook.com/mongkondTH/
– Twitter: https://twitter.com/MongkondTH
– Website: https://mongkond.com