Last Updated on 7 November 2023
ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า
แล้วก็มาถึงการแนะนำสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่จะไปสักการบูชาสักครั้งใน ชีวิตเราแล้ว โดยผู้เขียนจะขอเริ่มจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพมหานครเป็น แรกเริ่มก่อน เพื่อที่ผู้อ่านจะสามารถเลือกเดินทางไปได้ง่ายๆ อีกทั้งยังสามารถที่จะใช้การเดินทางโดยรถประจำทางได้ เหตุก็เพราะในกรุงเทพฯ ก็ขึ้นชื่ออยู่ว่า รถติดมาก ถ้าขืนเอารถส่วนตัวไปอาจจะเจอกับสภาพการจราจรที่ติดขัด อีกทั้ง เมื่อไปถึงที่หมายแล้วเราอาจจะต้องหงุดหงิดเพราะไม่สามารถหาที่จอดรถได้ สถานที่เหล่านี้จึงขอแนะนำให้ใช้รถโดยสารประจำทางจะดีกว่า
ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า
ที่ตั้ง ถนนตะนาว แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร
ศาลเจ้าพ่อเสือ เป็นศาลเก่าแก่ตั้งอยู่บนถนนตะนาวมานาน คนจีนจะ เรียกชื่อศาลนี้ว่า “ศาลตั๋วเหล่าเอี้ย” โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเชี่ยนเกี้ยนส่งเต้ รูปเจ้าพ่อเสือ รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม เป็นที่เคารพนับถือของคน ไทยเชื้อสายจีนเป็นอย่างมาก
ศาลเจ้าพ่อเสือ ตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดให้ขยายถนนบำรุงเมือง และได้โปรดให้ย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่งถนนตะนาวจนถึงปัจจุบัน โดย สร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทางภาคใต้ของจีน โดยการประดิษฐานรูปเสือ นั้น ได้นำเอากระดูกเสือบรรจุในแท่นปั้นรูปประดิษฐานบนแท่น อัญเชิญดวง วิญญาณเสือมาสถิตเพื่อปกปักรักษาประชาชนอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ผู้ที่ นิยมกราบไหว้ คือผู้ที่กำลังมีคดีความ ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล เพื่อให้หลุดพ้นหรือ ชนะคดี
ลักษณะอาคารของศาลเจ้า สร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทางภาคใต้ของจีน และมีเทพเจ้าประจำศาลเจ้า คือ เหี่ยงเที่ยงเสี่ยงตี่ หรือ เจ้าพ่อเสือ เป็นเทพที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาอย่างมาก อีกทั้งภายในศาลเจ้ายังประดิษฐานเทพอีกหลากองค์ โดยเฉพาะ เจ้าพ่อกวนอู และ เจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของทั้งคนไทยและจีนเช่นกัน
ในการสร้างศาลพ่อเจ้าเสือนั้น ได้มีการนำเอา กระดูกเสือ บรรจุในแท่น ปั้นรูปประดิษฐานบนแท่น และอัญเชิญดวงวิญญาณเสือ ขอให้ปกปักรักษาประชาชนให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ศาลเจ้าพ่อเสือ จึงเป็นศาสนสถานที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของคนไทยและจีนในพื้นที่บริเวณนี้ที่มีมาช้านานอีกด้วย
ศาลเจ้าพ่อเสือ ถือเป็นหนึ่งในสามมหาสถานของพระนครที่ชาวจีน ต้องสักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลและเสริมอำนาจบารมี ไหว้ด้วยธูป 18 ดอก ปัก 6 กระถาง เทียนแดง 1 คู่ พวงมาลัย 1 พวง ควรใช้ของบูชา คือ เนื้อหมู และไข่ เคล็ดบูชาที่สำคัญคือต้องลูบมันหมูใส่ปากเจ้าพ่อเสือด้วย จะมีโชคมีชัย ได้ลาภผลพูนทวี
ตำนานศาลเจ้าพ่อเสือ
ศาลเจ้าพ่อเสือตามในตำนานจีนนั้น เป็นเทพเจ้าเสือแห่งการปกป้อง โดยเรามักพบเห็นในวัดของลัทธิเต๋าของจีน บูชาเพื่อไล่วิญญาณที่เป็นศัตรูต่างๆ ในไทยเราก็มีตำนานศาลเจ้าพ่อเสือเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งเป็นตำนานจีนที่ผสมผสานกับตำนานของไทยโดยมีเรื่องอยู่ว่า
เดิมทีบริเวณนี้ในสมัยก่อนยังเป็นป่าซึ่งมีสัตว์ต่างๆ อาศัยอยู่มาก และมีครอบครัวหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ๆ คือ นายสอน และ ยายผอง 2 แม่ลูก ด้วยความยากจน นายสอนจึงต้องเข้าป่าเพื่อไปเก็บของป่าทุกๆ วัน วันหนึ่งนายสอนได้ไปเจอซากกวางใหม่ๆ จึงมีความคิดอยากนำเนื้อกวางไปฝากแม่ จึงเข้าไปตัดชิ้นเนื้อกวางมา และขณะนั้นเอง เสือที่ซุ่มอยู่ ก็กระโจนมาขย้ำเข้าที่แขนจนขาด
นายสอนตะเกียกตะกายทั้งที่บาดเจ็บสาหัสกลับไปที่บ้าน และเล่าเรื่องให้ยายผ่องรู้ทั้งหมด ก่อนจะสิ้นใจไป ด้วยความเสียใจที่สูญเสียลูก ยายผ่องจึงไปร้องกับนายอำเภอให้จับเสือมาลงโทษให้ได้ นายอำเภอและปลัด จึงออกตามหาเสือ แต่ไม่พบ ตอนต้องมาพึ่งบารมี ไปอธิษฐานต่อ หลวงพ่อบุญฤทธิ์ และ หลวงพ่อพระร่วง ที่ วัดมหรรณพาราม จากนั้นก็ได้เจอเสือที่หมอบอยู่พร้อมให้จับโดยดี
เมื่อจับเสือมาได้ นายอำเภอก็พิพากษาตัดสินประหารชีวิตเสือ เสือก้มหัวยอมรับ ลงนอนหมอบราบกับพื้นหลับตาเฉย แต่มีน้ำตาไหลซึม เมื่อยายผ่องเห็น อาการที่เคยโกรธเสือมาก่อนก็มลายหายไป เหลือแต่ความสงสาร จึงร้องขอชีวิตเสือต่อนายอำเภอ หลังจากนั้น ก็ได้นำเสือก็มาเลี้ยงจนเชื่อง
เมื่อยายผ่องถึงแก่กรรม เสือก็มีความโศกเศร้าเสียใจอย่างที่สุด และเกิดอาการตรอมใจ เมื่อเผาร่างของยายผ่อง เสือได้กระโจนเข้าไปในกองไฟด้วยสำนึกใจคุณของยายผ่อง สร้างความสลดใจแก่ชาวบ้าน ชาวบ้านจึงร่วมใจกันสร้างศาลข้างวัดมหรรณพาราม โดยปั้นรูปเสือไว้พร้อมนำเถ้ากระดูกของมันมาไว้ใต้แท่นและทำพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณเสือมาสถิตย์ไว้นั่นเอง
สถานที่: ศาลเจ้าพ่อเสือ
เวลาเปิด-ปิด: 6:00 – 17:00 น. เปิดทุกวัน
พิกัด: https://goo.gl/maps/Y65T9N1X2s9PRTzWA
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพประกอบบางส่วนจากหนังสือและ Internet
เรื่องราวที่นำเสนอเป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณ
🔻🔻ติดตามเรา🔻🔻
– Youtube: https://tiny.cc/mongkond
– Facebook: https://facebook.com/mongkondTH/
– Twitter: https://twitter.com/MongkondTH
– Website: https://mongkond.com