Last Updated on 14 April 2022
การทำบุญสร้างกุศลคืออะไร?
ในความหมายทางพระพุทธศาสนา “การทำบุญ” หมายถึง การทำความดี ละเว้นความชั่ว การสร้างประโยชน์เพื่อส่วนน้อยของตน แต่เพื่อเป็น ประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม เป็นการประกอบกรรมดี สร้างกุศลให้ตัวเองอีกทางหนึ่ง ถือเป็นการกำจัดความเห็นแก่ตัวในจิตใจของเราเองให้หมดสิ้นไป
หลักการทำบุญมีอยู่ไม่กี่ข้อ แต่รายละเอียดอาจมีมากที่ต้องทำความ เข้าใจ แน่นอนว่าเป็นเรื่องพื้นฐานของทางจิตใจที่ทุกๆ คนในโลก ไม่ว่าจะมาจากเชื้อชาติใด ศาสนาใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถปฏิบัติตามกันได้ทุกคน การทำบุญโดยหลักใหญ่ๆ มีดังนี้ว่า
การให้ทาน เช่น การใส่บาตร เลี้ยงพระ การถวายสังฆทาน หรือแม้แต่ การให้ทานกับขอทานตามท้องถนนหรือสะพานลอยก็เช่นกัน
การรักษาศีล เช่น การถือศีลไม่ว่าจะเป็น ศีล 5 หรือศีล 8 หรือศีลข้อ ไหนก็ตาม ถือเป็นกุศลอันยิ่ง
การเจริญกรรมฐาน ที่เข้าใจกันง่ายๆ คือ การนั่งสมาธิกำหนดลม หายใจเข้า-ออก สามารถทำได้ทั้งที่ทำงาน เวลาว่าง จะที่บ้านหรือจะไปตาม สถานที่ปฏิบัติธรรมต่างๆ ก็ได้ การเจริญกรรมฐาน มีทั้งสมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นการเจริญสติในลำดับขั้นต่างๆ ที่เชื่อว่าท่านผู้อ่าน หลายท่านได้มีความรู้และความเข้าใจกันพอสมควรอยู่บ้างแล้ว
และการทำบุญอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ บุญกิริยาวัตถุ เป็นผลแห่ง การสร้างกุศลของตัวเราเอง โดยแบ่งรายละเอียด ดังนี้
บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ
1. ทานมัย หมายถึง การให้ทาน การเสียสละ หรือการเผื่อแผ่แบ่งปัน เช่น ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดให้กับคนอื่น การให้ทาน เป็นการลดความเห็นแก่ตัวและความตระหนี่ถี่เหนียวที่มีอยู่ในจิตใจให้น้อยลง ผลของการให้ทานดังกล่าวจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความปีติสุขภายในใจ เจริญ ด้วยทรัพย์ในภายภาคหน้า
2. สีลมัย หมายถึง การรักษาศีล ไม่ว่าจะเป็น ศีล 5 หรือ ศีล 8 ถือ เป็นการฝึกฝนมิให้ตนต้องไปเบียดเบียนใคร เป็นการละเว้นจากความชั่ว ทั้งหลายที่จะทำความเดือดร้อนแก่ตนและผู้อื่น ผลบุญข้อนี้จะทำให้เรามีจิตใจ ที่สงบ เป็นฐานปฏิบัติที่สำคัญต่อการเจริญกรรมฐาน หรือการฝึกสติให้ยิ่งขึ้นไป
3. ภาวนามัย หมายถึง การอบรมจิตใจ มุ่งพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้ จิตใจสงบ เช่น นั่งสมาธิ เจริญกรรมฐานทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรม ฐาน แม้การสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยก่อนนอนทุกคืน ก็เป็นภาวนามัย และ ผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดสติและปัญญาที่แตกฉาน
4. อปจายนมัย หมายถึง การอ่อนน้อมถ่อมตน สำรวมระวังในการ ประพฤติต่อผู้อื่น อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม การให้เกียรติ ให้ความเคารพต่อ ความคิดของคนอื่นหรือสังคมอื่นที่แตกต่างกันนั้น ผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดความเมตตาและเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
5. เวยยาวัจมัย หมายถึง การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการช่วยเหลือสังคม เช่น การทำงานจิตอาสา เป็นต้น ผลบุญในข้อนี้ก็จะช่วยให้เกิดความรัก ความ ไว้วางใจที่มีมาจากผู้อื่น และความเมตตาจากบุคคลรอบข้าง
6. ปัตติทานมัย หมายถึง การแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล หรือการเปิดโอกาส ให้คนอื่นได้มาร่วมทำบุญด้วย เช่น การบอกบุญผ้าป่า กฐิน สร้างศาสนสถาน โบสถ์ วิหาร โดยมีผู้อื่นร่วมเป็นเจ้าภาพด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ การทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วก็ถือเป็นการทำบุญในข้อนี้ด้วย ผลบุญดัง กล่าว จะช่วยให้เราเป็นคนที่มีจิตใจกว้างขวางเป็นที่นิยมชมชอบของคนทั่วไป
7. ปัตตานุโมทนามัย หมายถึง การร่วมอนุโมทนา คือ ยินดีในการ ทำความดีของผู้อื่น โดยไม่คิดอิจฉาหรือระแวงสงสัยในการทำความดีของผู้อื่น การไม่คิดในแง่ร้ายจะทำให้เรามีจิตใจไม่เศร้าหมอง เพราะยินดีกับกุศลผลบุญ ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้เราได้บุญ
8. ธัมมัสสวนมัย หมายถึง การฟังธรรม อันมีประโยชน์ต่อสติปัญญาและ การดำเนินชีวิต การฟังธรรมสามารถฟังได้ทั้งจากเทป ซีดี หรือเป็นการฟังจาก ผู้รู้ต่างๆ ผลบุญข้อนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดปัญญาการรู้เห็น และเข้าใจธรรมะยิ่งขึ้น
9. ธัมมเทสนามัย หมายถึง การแสดงธรรม ให้ข้อคิดที่ดีๆ แก่ผู้อื่น โดย การแบ่งปันข้อความพระธรรมคำสอนต่างๆ ไปสู่ผู้อื่นหรือการให้คำแนะนำแก่ผู้ อื่นในเรื่องที่เป็นประโยชน์ ผลบุญในข้อนี้ทำให้ผู้บอกกล่าวได้รับการยกย่อง สรรเสริญ และได้รับความน่าเชื่อถือ
10. ทิฏฐธุกรรม หมายถึง การทำตามความถูกต้อง ไม่ถือทิฐิเอาแต่ความ คิดเห็นของตนเป็นใหญ่ ให้รู้จักแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาความคิดเห็น ความ เข้าใจให้ถูกต้องตามธรรมอยู่เสมอ ข้อนี้มีความสำคัญยิ่ง เพราะไม่ว่าจะทำบุญ ใดทั้งหมดที่กล่าวมา หากมิได้ตั้งอยู่ในทำนองคลองธรรม การทำบุญนั้นก็ไม่ บริสุทธิ์ และได้รับอานิสงส์ไม่เต็มที่
เพียงแค่เราสามารถปฏิบัติตามหลักการทำบุญข้อใดข้อหนึ่งหรือ สามารถปฏิบัติตามได้ทั้งหมด จิตใจเราก็เป็นกุศล ทำอะไรก็ราบรื่น ไม่ติดขัด มีโชคมีบุญวาสนา ทำให้เราพบเจอกับสิ่งดีๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตอีกมากมาย นอกเหนือการทำตนให้เป็นคนดีแล้ว คือการทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์นั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพประกอบบางส่วนจากหนังสือและ Internet
เรื่องราวที่นำเสนอเป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณ
🔻🔻ติดตามเรา🔻🔻
– Youtube: https://tiny.cc/mongkond
– Facebook: https://facebook.com/mongkondTH/
– Twitter: https://twitter.com/MongkondTH
– Website: https://mongkond.com