Last Updated on 7 November 2023
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
แล้วก็มาถึงการแนะนำสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่จะไปสักการบูชาสักครั้งใน ชีวิตเราแล้ว โดยผู้เขียนจะขอเริ่มจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพมหานครเป็น แรกเริ่มก่อน เพื่อที่ผู้อ่านจะสามารถเลือกเดินทางไปได้ง่ายๆ อีกทั้งยังสามารถที่จะใช้การเดินทางโดยรถประจำทางได้ เหตุก็เพราะในกรุงเทพฯ ก็ขึ้นชื่ออยู่ว่า รถติดมาก ถ้าขืนเอารถส่วนตัวไปอาจจะเจอกับสภาพการจราจรที่ติดขัด อีกทั้ง เมื่อไปถึงที่หมายแล้วเราอาจจะต้องหงุดหงิดเพราะไม่สามารถหาที่จอดรถได้ สถานที่เหล่านี้จึงขอแนะนำให้ใช้รถโดยสารประจำทางจะดีกว่า
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
ที่ตั้ง ข้างกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่
วัดอรุณราชวรารามฯ หรือที่นิยมเรียกกันว่า วัดแจ้ง เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดมะกอก แต่เมื่อมีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง ในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน หรือ วัดนวลนรดิศ แล้วจึงเรียกวัดมะกอกนี้ว่า วัดมะกอกนอก เล่ากันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีแล้ว จึงได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อว่า วัดแจ้ง บ้างก็ว่า เรียกขานวัดนี้ว่า วัดแจ้ง มานานแล้ว
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ ที่ ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ด้านฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานทำให้วัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดา ราม ใน พ.ศ. 2327
ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวง อิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง ใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศร สุนทร ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย (รัชกาลที่ 2) พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระ ราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระ ปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน
ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรด เกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฏที่หล่อสำหรับพระพุทธรูป ทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้บูรณ ปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มาบรรจุไว้ที่พระพุทธ ที่ อาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระ ราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”
พระปรางค์วัดอรุณ ถือว่ามีชื่อเสียงมากด้านความสวยงามของ สถาปัตยกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้แวะมาชมความงดงามไม่ขาดสาย สามารถขึ้นพระปรางค์เพื่อชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้ เชื่อกันว่า ต้อง ไปเดินทักษิณาวัตร (เวียนขวา) รอบพระปรางค์ 3 รอบ จักได้ชีวิตรุ่งโรจน์ รุ่งเรืองติดตัวกลับไปด้วย
นอกจากนี้วัดอรุณยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมายให้ได้กราบสักการะ อาทิ
พระวิหารหลวง เป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธชมภูนุทมหาบุรุษ ลักขณาอสีตยานุบพิตร เป็นประธานปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงปิดทอง โดยมีพระอรุณ หรือ พระแจ้ง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งองค์พระและ ผ้าทรงครองทำด้วยทองสีต่างกัน ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีด้านหน้า
พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ว่ากันว่า พระพักตร์เป็นฝึกพระหัตถ์พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ที่ทรงปั้นขึ้นมา )
ยักษ์ ๒ ตน บริเวณประตูซุ้มยอดมงกุฎ มือทั้งสองกุมกระบองยืนอยู่ บนแท่นสูง ยักษ์ที่ยืนด้านเหนือ (ตัวขาว) คือ สหัสเดชะ ด้านใต้ (ตัวเขียว) คือ ทศกัณฐ์ ปั้นด้วยปูน ประดับกระเบื้องเคลือบสีเป็นลวดลายสวยงาม
สถานที่: วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
เวลาเปิด-ปิด: 8:00 – 18:00 น. เปิดทุกวัน
พิกัด: https://goo.gl/maps/8BP4KT2Dd6YejFza8
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพประกอบบางส่วนจากหนังสือและ Internet
เรื่องราวที่นำเสนอเป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณ
🔻🔻ติดตามเรา🔻🔻
– Youtube: https://tiny.cc/mongkond
– Facebook: https://facebook.com/mongkondTH/
– Twitter: https://twitter.com/MongkondTH
– Website: https://mongkond.com